สรุปเวทีเสวนา ‘ทอม ทรานส์ ชายข้ามเพศ ทรานส์มาสคิวลีน ในศึกเลือกตั้ง 2566′

- Advertisement -

ฟังเสียง 4 ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรรคก้าวไกล, ภูมิใจไทย, เพื่อชาติ และเสมอภาค จากประสบการณ์เลือกปฏิบัติที่เจอมาทั้งชีวิต สู่ทางออกเชิงนโยบายในสนามการเมือง

สรุปเวทีเสวนา ‘ทอม ทรานส์ ชายข้ามเพศ ทรานส์มาสคิวลีน ในศึกเลือกตั้ง 2566’ ที่จัดโดยกลุ่ม TEAK พลังทรานส์ (TEAK Empowerment) โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาจาก 4 พรรคการเมือง ได้แก่ ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ (เตอร์) พรรคก้าวไกล, กฤศ ธรรมสโรช (จิมมี่) พรรคเสมอภาค, รณกฤต หะมิชาติ (แซม) พรรคเพื่อชาติ และณัฏฐ์ มงคลนาวิน (นัตเต้) พรรคภูมิใจไทย ดำเนินรายการโดย วศิณี พบูประภาพ นักข่าวจากTODAYY

- Advertisement -

โดยอาทิตยา อาษา ตัวแทนกลุ่ม TEAK พลังทรานส์ (TEAK Empowerment) กล่าวว่างานนี้มีจุดประสงค์หลัก 2 ข้อด้วยกัน ได้แก่ เพื่อให้ผู้สมัครสมชิกสภาผู้แทนราษฎรมที่มีอัตลักษณ์ในกลุ่มทรานส์มาสคิวลีนได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศของคนในชุมชน และเพื่อให้ผู้สมัครแต่ละท่านในฐานะคนในชุมชนนำเสนอแนวทางในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้แก่ชุมชนทอม ทรานส์ ผู้ชายข้ามเพศ ทรานส์มาสคิวลีน


เนื้อหาการเสวนาแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศที่เจอในสนามการเมืองไทย

ในการเสวนาประเด็นนี้ รณกฤต หะมิชาติ พรรคเพื่อชาติ กล่าวว่า “เนื่องจากยังไม่มีโอกาสเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎรจะขอเล่าในส่วนของประสบการณ์ที่พบเจอนนอกสภาฯ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เจอตั้งแต่วัยเด็ก คือการเลือกแฏิบัติในสถานศึกษา เนื่องจากตนเป็นนักเรียนที่ตัดปมสั้นไม่ตรงตามระเบียบของโรงเรียนที่กำหนด ‘นักเรียนหญิง’ ไว้ผมยาวถักเปีย และเคยได้รับคำด่าทอที่รุนแรงจากคุณครูถึงขั้นว่า ‘แม่เธอเป็นเมียเช่าฝรั่งเหรอถึงทำผมสั้นมาโรงเรียน’ ส่วนตัวคิดว่าการถูกเลือกปฏิบัติในโรงเรียนเป็นประสบการณ์ร่วมที่กลุ่มชายข้ามเพศหลายคนเคยเจอ และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา”

ณัฏฐ์ มงคลนาวิน พรรคภูมิใจไทย ระบุว่า “ไม่เคยต้องประสบกับเหตุการณ์รุนแรงเนื่องจากสมาชิกในพรรคมีความเปิดกว้างเรื่องเพศ และตนติดว่าประเทศไทยเองค่อนข้างมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมิติความหลากหลายทางเพศในวงกว้าง รวมไปเป็นประเทศที่ค่อนข้างให้การยอมรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ”

ส่วนกฤศ ธรรมสโรช พรรคเสมอภาค ก็ระบุว่า “ยังไม่เคยเจอเหตุกาณณ์ที่เป็นความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศขึ้นกับตัว แต่มีประสบการณ์เหล่านี้มาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมที่ยังไม่ได้รับความเข้าใจและยอมรับมากนัก จนทำให้ได้รับการตั้งคำถามที่เป็นคำถามรุนแรงกระทบกระเทือนจิตใจ หรือการถูกปรามาสในความสามารถและอัตลักษณ์ตัวตน เช่น การถูกไล่ให้ไปเกณฑ์ทหารหากอยากจะเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ชาย”

และณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า “พรรคก้าวไกลไม่มีปัญหาการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากตนได้เลือกเข้าร่วมในพรรคที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศจึงเปรียบเสมือนการคัดกรองคนเข้าสุ่พรรคในระกับหนึ่งแล้ว แต่ในส่วนของการทำงานในสภาฯ เคยต้องพบเจอกับการเลือกปฏิบัติ เช่น การถูกมองว่าเป็น ‘ดอกไม้ประดับสภาฯ’ และเคยได้รับการเลือกปฏิบัติในการเข้าร่วมประชุม ยกตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่ประธานสภาซึ่งมักจะเรียกส.ส.แต่ละท่านด้วยคำนำหน้าชื่อว่า ‘ท่าน’ แต่เมื่อเป็นส.ส.ที่เป็นคนจากชุมชนเพศหลากหลายกลับถูกขานเรียกด้วยคำนำหน้าชื่อตามเพศกำหนด คือนาย และ นางสาว ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ทั้งตนและสมาชิกร่วมพรรคอย่างอดีต ส.ส. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ต้องประสบตลอดระยะเวลาการทำงาน”

ประเด็นปัญหาการเหยียดและเลือกปฏิบัติที่คนข้ามเพศและผู้มีความหลากลหายทางเพศต้องเจอจะสามารถแก้ไขได้อย่างไรในระดับโครงสร้าง

กฤศ ธรรมสโรช พรรคเสมอภาค เสนอว่า “ต้องแก้ไขที่ข้อกฎหมาย เช่นการดูประมวลอาญาเรื่องการเพิ่มโทษอาชญากรรมที่เกิดจาดความเกลียดชัง (Hate crime) รวมไปถึงต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดของคำนิยามว่าอาชญากรรมประเภทนี้จะครอบคลุมการทำร้ายด้านไหนบ้าง เช่น ร่างกาย การใช้คำพูด ไปจนถึงการมุ่งร้ายทางจิตใจหรือจิตวิญญาณของผู้ถูกกระทำ”

“นอกจากนี้ยังเสนอให้ปรับหลักสูตรการศึกษาแกนกลางของกระทรวงการศึกษาโดยเพิ่มให้มีการนำหลัก SOGIESC (วิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และ คุณลักษณะทางเพศ) มาใช้ในหลักสูตรการศึกษาร่วมกับการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเนื้อตัวร่างกายให้แก่เยาวชน”

ในด้านณัฏฐ์ มงคลนาวิน พรรคภูมิใจไทย ระบุว่า “จะมุ่งผลักดันนโยบายที่ทำได้ง่ายก่อน เช่น Gender Neutral Bathroom เนื่องจากแม้จะเหมือนเป็นเรื่องเล้กน้อยแต่ก็เป็นประสบการณ์ที่คนข้ามเพสหลายคนต้องเคยประสบปัญหาในการไม่เจอที่ทางทมี่เหมาะสมของตนในพื้นที่สาธารณะ และส่วนตัวเคยต้องพบเจอเหตุการณ์ถูกด่าทอจากการเข้าห้องน้ำสาธารณะมาก่อน”

“และต้องการพัฒนาเรื่องความรู้ ความเข้าใจเรื่องมิติทางเพศของคนตั้งแต่วัยเด็ก โดยต้องการให้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการช่วยเหลือให้เด็ก ๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศเรียนรู้วิธีการรับมือกับการถูกบูลลี่และปัญหาที่อาจพบเจอระหว่างกระบวนการยืนยันเพศของตน”

ส่วนรณกฤต หะมิชาติ พรรคเพื่อชาติ ระบุว่า “ต้องการเริ่มจากประเด็นใกล้ตัวอย่างการยกเลิกเครื่องแบบการแต่งกายเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจเรื่องสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ตนมองว่าการเหยียดนั้นมีหลายระดับ ผุ้ที่มีความหลากลหายทางเพศแต่ละคนอาจมีความเปราะบาง ซับซ้อนที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้หยิงข้ามเพศที่มีรูปร่างหน้าตาตรงตาม Beauty Standars อาจพบกับการเหยียดในรูปแบบที่ต่างจากผู้หยิงข้ามเพศที่ไม่ได้มีรูปลักณ์ตามลักษณะที่สังคมนิยม เพราะฉะนั้นจะต้องมีการแก้ไของค์ความรู้ ความเข้าใจให้คนในสังคมว่าการเลือกปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และต้องผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายรับรองสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ”

และณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ พรรคก้าวไกล มองว่า “การศึกษามีส่วนที่มำให้เกิดทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เนื่องจากปัจจุบันยังมีแบบเรียนที่ไม่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น ‘ปกติ’ ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้นจึงควรเร่งให้การแก้ไขแบบเรียนอย่างเร่งด่วน และหลักสูตรการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลายในสังคมว่าสามรถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข”

“พร้อมกันนี้ก็จะต้องผลักดันให้เกิดความเสมอภาคผ่านการรับรองสมรสเท่าเทียมและการรับรองอัตลักษณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ”

ประเด็นนโยบายที่ต้องการขับเคลื่อนเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ นอกจาก #สมรสเท่าเทียม การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ และสวัสดิการฮอร์โมนซึ่งเป็นนโยบายที่หลายพรรคให้การสนับสนุนอยู่แล้ว

ในประเด็นนี้ กฤศ ธรรมสโรช พรรคเสมอภาค ระบุว่า “ต้องการบูรณาการกฎหมายแรงงานเข้ากับการป้องกันการเบลือกปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกปฏิบัติที่ผู้อยู่ร่วมกับ HIV รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อปกป้องไม่ให้เกิดอาชญากรรมที่เกิดจาดความเกลียดชัง (Hate crime) และการลงโทษที่เหมาะสม”

นอกจากนี้ยังมองว่า “ต้องมีการแก้ไขให้สวัสดิการลาคลอดบัตรต้องสอดคล้องกับ พรบ. รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่ไม่ได้มีเฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่ตั้งครรภ์และมีบุตร” ด้วย

รณกฤต หะมิชาติ พรรคเพื่อชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า “ทางพรรคมีการผลักดันเรื่อง Sex Worker, Sex Creator และ Sex Toy ให้เป็นเรื่องถูกกฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันมีคนข้ามเพศและผู้มีความหลากลหายทางเพศที่ถูกผลักออกจากระบบการศึกษาและต้องเข้าสู่กระบวนการ Sex Work โดยไม่ได้เต็มใจ”

“นอกจากนี้ตนมองว่าการจะแก้ไขปัญหาให้ตรงความต้องการนั้นจำเป็นจะต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับประชาชนจากแต่ละกลุ่มชุมชนเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปตรงตามความต้องการละมีรายละเอียดที่คำนึงถึงข้อจำกัดของประชาชนอย่างที่สุด”

ทางด้านณัฏฐ์ มงคลนาวิน พรรคภูมิใจไทยยังคงยืนยันเรื่องการผลักดันสมรสเท่าเทียม คำหนำหน้าชื่อตามอัตลักษณ์ และสวัสดิการข้ามเพศให้เกิดขึ้นจริง โดยอยากให้มีการสร้างพื้นที่หรือหน่วยพิเศษสำหรับการดูแลตคนข้ามเพศในสถานบริการทางการแพทย์ เช่น มีวอร์ดพิเศษสำหรับคนข้ามเพศโดยเฉพาะ

และต่อด้วยณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ พรรคก้าวไกล ที่ยืนยันในการผลักดันสมรสเท่าเทียมต่อไปจนประสบความสำเร็จ และมองว่าจะต้องมีการมองเห็นผู้มีความหลากลหายทางเพศไว้ในทุก ๆ นโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ โดยไม่มองเป็นกลุ่มที่แยกออกมาจากความเท่าเทียมทางเพศที่พรรคผลักดันอยู่แล้ว เช่น ความเท่าเทียมทางเพศระหว่างชาย หญิง นอกจากนี้ยังพยายามสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีเจริญพันธ์สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ และพรรคยังให้ความสำคัญในการจัดการนโยบายสาธารณะต่าง ๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องขัง โรงเรียน ศูนย์ราชการให้เป็นพื้นที่ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่โดยรู้สึกปลอดภัยด้วย

หลังจากจบช่วงเสวนา ได้มีช่วงถามตอบกับประชาชนทั้งในงานเสวนาและผู้ชมไลฟ์ทางบ้าน ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวเนื่องทั้งทรานส์มาสคิวลีน นอนไบนารี่ รวมถึงคำถามสำคัญที่ว่า ‘หากมี Gender Quota สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นั่งสุดท้ายสำหรับผู้หญิง ผู้สมัครทั้ง 4 ท่านจะยอมรับโควต้านั้นและเข้าสภาหรือไม่’ ซึ่งคำตอบจากผู้สมัครทั้ง 4 ท่านก็สะท้อนมุมมองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หากใครสนใจประเด็นนี้ สามารถชมเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/42mf9zk

#เลือกตั้ง66 #การเลือกตั้ง2566 #TransRights

#Transmasculine

.

อ่านคอนเทนต์เรื่องเพศอื่นๆ: https://bit.ly/3hhRUzp.

#SPECTRUM #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน

“กรุณาแสดงความเห็นอย่างสุภาพและสร้างสรรค์  ทีมงานสงวนสิทธิ์ในการลบหรือดำเนินการตามสมควร กับความเห็นที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น”

- Advertisement -
Ms.Chapman
Ms.Chapman
a senior baby girl