ตรวจสอบและร่วมลงชื่อทวงคืนสิทธิสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนทุกกลุ่มได้ที่นี่
ลงชื่อทวงคืนสิทธิการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเลือกตามกลุ่มอาชีพได้ที่ https://linktr.ee/pandp_thai
เครือข่ายนักกิจกรรมและหน่วยงานกว่า 124 องค์กรร่วมประกาศจุดยืนทวงคืนสิทธิให้ประชาชน จากการที่นายอนุทิน ชาญวีรกุลไม่ลงนามอนุมัติ ‘งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค’ ประจำปีงบประมาณ 2566 ทำให้ประชาชนจำนวนถึง 20 ล้านคนที่ไม่ได้ใช้สิทธิบัตรทอง ไม่ได้รับความคุ้มครองในบริการสุขภาพที่สำคัญ เช่น วัคซีนเด็ก การคุมกำเนิด ฝากครรภ์ คัดกรองมะเร็ง ยา PrEp/ PEP งบดูแลผู้ป่วยติดเตียง และอีกมากมาย นั่นหมายถึงคนไทยที่ใช้สิทธิประกันตน ประกันสังคม ข้าราชการ (และทุกคนที่ไม่มีบัตรทอง) จะต้องเสียเงินจ่ายบริการเหล่านี้เอง ทั้งที่เป็นสิทธิที่ได้รับมาตลอดตั้งพ.ศ. 2545
โดยปกติแล้วรัฐมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับมอบหมายในการดูแลและใช้จ่ายงบนั้นเพื่อรักษาสิทธิในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกคนครบทั้ง 4 ด้านโดยเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิใด ซึ่งสิทธิอื่นนอกเหนือจากบัตรทอง เช่น สิทธิประกันสังคม ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะครอบคลุมเฉพาะสิทธิรักษาพยาบาลเท่านั้น และค่าใช้จ่ายในส่วนของการป้องกันโรค สร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพถูกจัดอยู่ใน #งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หรือที่เรียกกันติดปากว่างบ P&P ซึ่งหมายถึงงบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายให้ประชาชนทุกคนในการเข้าถึงสิทธิในการส่งเสริมสุขภาพตลอดช่วงชีวิต ครอบคลุมไปถึงงบประมาณที่จัดสรรให้แก่ท้องถิ่น เช่น การดูแลผู้ป่วยติดเตียงของ สาธารณสุขชุมชน และเงินสนับสนุนรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยงบประมาณนี้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
ในปีนี้สำนักงบประมาณได้อนุมติงบให้สปสช.ใช้สำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ไม่มีบัตรทองมากกว่า 9,291.1 ล้านบาท แต่เนื่องจากงบประมาณในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในปีนี้ไม่ได้รับการอนุมัติจากนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นั่นหมายความว่าประชาชนที่ไม่ได้ใช้สิทธิบัตรทองจะได้รับการดูแลเฉพาะสิทธิการรักษาพยาบาลเพียงด้านเดียว และต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเองในบริการทางสุขภาพอีก 3 ด้านที่เหลือ! ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อย เพราะงบนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลายบริการที่จำเป็นตลอดช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดไปจนผู้สูงอายุ เช่น ยาคุมกำเนิด การตรวจครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์ วัคซีนรวมกว่า 30 ครั้ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น
ส่งผลให้เครือข่ายนักกิจกรรมและหน่วยงานกว่า 124 องค์กรในรวมตัวกันในนาม ‘ภาคีทวงคืนสิทธิสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค’ เพื่อเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพที่ประชาชนทุกคนพึงมีพึงได้ เนื่องจากหากไม่มีงบประมาณนี้ในการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรับบริการทางสุขภาพที่สำคัญจะส่งผลให้คนไทยจำนวนนับล้านหลุดออกจากระบบสุขภาพ ถูกผลักออกจากบริการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ซึ่งทุกคนควรได้รับในฐานะผู้เสียภาษี และในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีคนหนึ่ง
วันนี้ (9 มีนาคม 2566) ภาคีทวงคืนสิทธิฯ เดินสายแถลงการณ์และเรียกร้อง ณ สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และที่ทำการพรรคภูมิใจไทย เพื่อให้นายอนุทินและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนแก้ไขข้อผิดพลาดอันเกิดโดยตั้งใจครั้งนี้ โดยมี 4 ข้อเรียกร้องดังนี้
1. ขอให้นายอนุทิน ชาญวีรกุลในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงนามในประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเพื่อคืนสิทธิและแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้โดยทันที ก่อนการยุบสภาที่จะเกิดขึ้น
2. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำพระราชกฤษฎีกาคืนสิทธิสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคคืนสิทธิให้ทุกคนในประเทศโดยทันที เพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้แล้วเสร็จทันในสมัยของคณะรัฐมนตรีชุดนี้
3. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมาตรการการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่หน่วยบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชนได้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วจำนวนรวมหลายล้านบาทในปีงบประมาณ 2566 และทางออกในปีงบประมาณ 2567 ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการในข้อ 1 และ 2 ได้ก่อนยุบสภา
4. ขอให้พรรคการเมือง ‘ทุกพรรค’ มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรับประกันว่า ประชาชนไทยทุกคนจะได้รับสิทธิสุขภาพครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพอย่างทั่วถึงเท่าเทียม
ชวนอ่านรายชื่อบริการทางสุขภาพที่ ‘เรา’ จะสูญเสียไปหากไม่ได้รับงบในปีนี้ เพื่อตระหนักร่วมกันว่าการละเลยความสำคัญของสุขภาพประชาชนครั้งนี้ใกล้ตัวและจะสร้างผลกระทบรุนแรงกับพวกเราอย่างร้ายแรงหากยังไม่ได้รับการแก้ไขร
20 ล้านคนที่ตกหล่นไปเป็นใครบ้าง?
- ข้าราชการ
- พนักงานราชการ
- ลูกจ้างส่วนราชการ
- พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
- พนักงานองค์กรมหาชน
- พนักงานองค์กรอิสระ
- พนักงานเมืองพัทยา
- ผู้เบิกจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลกรุงเทพมหานคร
- ครูเอกชน
- ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานท้องถิ่น
- พนักงานบริษัทเอกชน/โรงงาน/ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- พนักงานร้านค้าห้างสรรพสินค้า/ ร้านอาหาร/ องค์กรพัฒนาเอกชน
- และ ‘ทุกคน’ ที่ไม่มีสิทธิบัตรทอง
บุคคลเหล่านี้จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการการป้องกันโรค ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพเองทุกบาททุกสตางค์ คิดเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเนื่องจากหลายบริการ เช่น การคุมกำเนิด การตรวจครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์ วัคซีนรวมกว่า 30 ครั้ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง เบาหวาน ล้วนเป็นบริการที่สำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมเป็นอย่างมาก
ร
บริการอนามัยเจริญพันธุ์
บริการเพื่อสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และบริการสำหรับผู้ตั้งครรภ์และหลังคลอด
- การคุมกำเนิกรุปแบบต่างๆ เช่น ถุงยาง ยาคุมกำเนิดแบบฉีด แบบฝัง
- ทดสอบการตั้งครรภ์
- ยุติการตั้งครรภ์
- การตรวจคัดกรอง HIV
- ยาป้องกันเอชไอวี ก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ PrEp/ PEP
- ฝากครรภ์
- ตรวจครรภ์และประเมินความเสี่ยง
- ตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะซีด ซิฟิลิส เอชไอวี ตับอักเสบบี ธาลัสซีเมียและดาวน์
- ตรวจปัสสาวะ
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยักและวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก โฟลิกและไอโอดีน
- การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
- ตรวจช่องปากและฟัน ขัดและทำความสะอาดฟันรวมถึงการขูดหินน้ำลาย
- ประเมินสุขภาพจิต
- ตรวจหลังคลอดและคุมกำเนิด
- ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สมุดบันทึกสุขภาพ
- การคัดกรองธาลัสซีเมีย รวมทั้งการคัดกรองธาลัสซีเมียในคู่ของผู้ตั้งครรภ์
บริการสำหรับเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี
- ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน โปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่และไข้สมองอักเสบเจอี
- ตรวจเลือดคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์
- โรคฟีนิลคีโตนูเรียและโรคทางพันธุกรรมเมตาบอลิกภาวะซีดการติดเชื้อเอไอวี
- ตรวจคัดกรองการได้ยิน
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
- ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
- ตรวจคัดกรองวัณโรค (สำหรับกลุ่มเสี่ยง)
- ตรวจช่องปากและฟัน เคลือบฟลูออไรด์
- การให้ยาไทรอกซินป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์
- ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก
- ยาต้านไวรัสเอชไอวี
- สมุดบันทึกสุขภาพ/บันทึกพัฒนาการ
- ตรวจสายตาและตัดแว่นหากมีภาวะสายตาผิดปกติ
เด็กโตและวัยรุ่น 6-24 ปี
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ฉีดวัคซีนเอชพีวีป้องกันมะเร็งปากมดลูก (สำหรับนักเรียนเพศกำหนดหญิงชั้น ป.5)
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
- ตรวจเลือด คัดกรองภาวะซีด HIV
- ตรวจวัดความดันโลหิต
- ตรวจคัดกรองสายตาและการได้ยิน
- คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่/สุรา/สารเสพติด
- ตรวจคัดกรองวัณโรค
- ตรวจช่องปากและฟัน เคลือบฟลูออไรด์และหลุมร่องฟัน
- การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก
- ตรวจสายตาและตัดแว่นหากมีภาวะสายตาผิดปกติ (สำหรับอายุ 6-12 ปี หรือนักเรียน ป.1-ป.6)
- การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การคุมกำเนิด
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส
ผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ตรวจวัดความดันโลหิต
- ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี
- คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่/สุรา/สารเสพติด
- คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ตรวจคัดกรองวัณโรค มะเร็งช่องปาก
- ตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม
- คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (สำหรับผู้มีอายุ 50-70 ปี)
- เคลือบฟลูออไรด์
- การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก
- การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด
- การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- ตรวจประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)
- ตรวจวัดดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต
- ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี
- คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง คั
- ดกรองโรคซึมเศร้า
- การคัดกรองวัณโรค มะเร็งช่องปาก
- ตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม
- ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (สำหรับผู้มีอายุ 50-70 ปี)
- การเคลือบฟลูออไรด์
- การให้ความรู้ออกกำลังกายและฝึกสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม
- การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน
- การให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัสกันโรคให้คนไทยทุกคน
อ้างอิง
RSA Thai: https://bit.ly/3YAR1qv
กลุ่มทำทาง: https://bit.ly/3T3UUTB
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: https://bit.ly/3YOA6Rr
Content by Ms. Chapman
Graphic by 7pxxch
อ่านคอนเทนต์เรื่องเพศอื่นๆ: https://bit.ly/3hhRUzp
#SPECTRUM #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน