จาก K-pop ของเกาหลี สู่ Q-Pop ในคาซัคสถาน วงบอยแบนด์ Ninety One ที่กำลังโด่งดังในตอนนี้ โดยมาในลุค ‘ความเป็นชายที่เปราะบาง’ ซึ่งสมาชิกหนึ่งในนั้นเคยอยู่ค่าย SM ด้วย! News January 8, 2021 Share Facebook Twitter Google+ Pinterest WhatsApp นี่คือหนึ่งในปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจที่สุดในขณะนี้จากประเทศคาซัคสถานกับ #NinetyOne บอยแบนด์ ‘Q-Pop’ หรือ ‘Qazakhstan Pop’ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก K-Pop นำมาซึ่งเพลงแนวใหม่ (Genre) สะท้อนประเด็น ‘Fragile Masculinity’ หรือ ‘ความเป็นชายที่เปราะบาง’ ในแถบเอเชียกลางอีกด้วย โดยสมาชิกวงนี้มี 4 คน ‘Alem’ ‘Zaq’ ‘Bala’ และ ‘Ace’ และคนสุดท้ายนั้นเคยอยู่ค่าย SM Entertainment ของเกาหลีใต้มาก่อน ซึ่งขณะนี้ พวกเขาอยู่ภายใต้ค่ายเพลง JUZ Entertainment และเปิดตัวโปรโมตและแสดงตั้งแต่ปี 2015 มาในลุคที่เรียกว่า ‘Soft Boy’ มีความเป็นหญิงและความเป็นชายอยู่ในคนเดียวกัน (Androgynous) ซึ่งตรงข้ามกับคุณค่าของการเป็นผู้ชายของวัฒนธรรมคาซัคสถาน กับขนบของรักต่างเพศ (Heteronormative Norm) นำไปสู่ความเกลียดชังรักร่วมเพศ (Homophobia) ในประเทศนี้อีกด้วย “กลุ่มผู้ชายที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส ใส่กางเกงยีนส์แนบเนื้อ… สไตล์ของพวกเขาก็ยั่วยุอารมณ์จริง ๆ นั่นล่ะ” – ‘Yerbolat Bedelkhan’ โปรดิวเซอร์ผู้ก่อตั้งวงบอยแบนด์นี้กล่าว โดยการประท้วงนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีงานแสดงตัวหรือจัดคอนเสิร์ต และบางครั้งก็โดนขอให้หยุดโชว์เพระาเจ้าของงานไม่อยากให้เกิดความรุนแรง “พ่อผมน่ะไปร่วมกองทัพทหาร ผมเองก็ภูมิใจทุกครั้งที่ได้บอกกับคนอื่นอย่างนั้นเวลาผมโชว์รูปพ่อให้คนอื่นดู… พ่อผมน่ะลูกผู้ชายตัวจริง แล้ว Ninety One ล่ะ ใช่ลูกผู้ชายตัวจริงหรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่ใช่ผู้ชายหรอก แต่จะบอกว่าเป็นผู้ชายก็ไม่ได้เหมือนกัน” นี่คือเสียงของนักเรียนมัธยมคาซัคสถานคนหนึ่งที่ให้ความเห็นต่อวงบอยแบนด์นี้ #FragileMasculinity หรือ ‘ความเป็นชายที่เปราะบาง’ ‘Alexandra Tsunetra’ – นักสังคมวิทยาและนักวิจัยด้านการเมืองชาวอเมริกัน ได้ถูกอธิบายไว้อย่างน่าสนใจโดย ‘Alexandra Tsunetra’ – นักสังคมวิทยาและนักวิจัยด้านการเมืองชาวอเมริกันว่า แท้ที่จริงแล้ว การที่ผู้ชายกำลังแสดง ‘ความเป็นชายที่เปราะบาง’ ผ่านการข่มขวัญหรือต่อต้านผู้อื่นให้แสดงออกในแบบที่ตนคาดหวังกลับเป็นการร้องขอความช่วยเหลือต่างหาก โดยเธอนั้นยังได้อ้างอิง ‘Tony Porter’ – นักกิจกรรมด้านสิทธิทางเพศชาวอเมริกันว่า ความเปราะบาง [ในความเป็นชาย] นั้นมีรากฐานมาจากความบอบช้ำทางจิตใจ (Trauma) ที่อาจเกิดขึ้นได้จากรูปแบบสังคมชายเป็นใหญ่ (Patriarchal Society) และตัว Alexandra Tsunetra ยังตั้งคำถามให้ผู้ชายนั้นสำรวจตัวเองด้วยว่า:ถ้าคุณไม่สามารถกอดหรือชื่นชมเพื่อนผู้ชายโดยที่ไม่กล่าวคำว่า “No Homo” (เป็นคำที่จะสื่อคล้ายกับว่า “ไม่เกย์นะเว้ย”) ต่อท้ายได้ นั่นแปลว่า ความเป็นชายของคุณนั่นเองที่เปราะบาง อย่างไรก็ตามสำหรับวง Ninety One นี้ถือเป็นการถางทางในประเทศนี้ถึงความเข้าใจใหม่ๆในความเป้นผู้ชายทที่หลากหลายขึ้นซึ่งกลายเป็นทั้งแรงบันดาลใจและต้นแบบให้กับวง Q-Pop อีกหลายสิบวงที่ผุดขึ้นจากกระแสสนับสนุนในประเทศคาซัคสถานในท้ายที่สุด ชมสารคดีของพวกเขา: https://bit.ly/3olnWxP ฟังเพลงที่ยูทูป: https://bit.ly/3nnOe0X และติดตามไอจีได้ที่: https://bit.ly/2XlO3c1 #NinetyOne #Qazaqstan #Masculinity #FragileMasculinity #ToxicMasculinity #GenderExpression Content by Tobita P. Faith Graphic by Napaschon Boontham อ่านคอนเทนต์เรื่องเพศอื่นๆ: https://bit.ly/3hhRUzp อ้างอิง Youtube: https://bit.ly Medium: https://bit.ly/3hUtPj3 BBC: https://bbc.in/2MEBtCx ภาพ: ninetyone #Spectrum #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน SPECTRUMพื้นที่ความคิดของทุกสีสัน RELATED News ตอนนี้ฉันอายุ 17 ปี และฉัน โดนหมายเรียกจากตำรวจ ‘มีมี่’ เยาวชนจากกลุ่มเฟมินิสต์ป... นภัสชล บุญธรรม - January 13, 2021 เพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า แต่เมื่อเด็กออกมาเรียกร้องอนาคตกลับโดนหมายเรียก นี่ล่ะนะประเทศไทย มาร่วมให้กำลังใจเธ... Read more News ใครเป็น LGBT+ ไปบริจาคเลือด แล้วเคยโดนห้ามเพราะเพศบ้าง? ขณะนี้สภากาชาดไทยขาดแคลน... นภัสชล บุญธรรม - January 12, 2021 ‘รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ - “ชวนคนไทยช่วยกันรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทยบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤติ COVID-19 รอบ 2 ไปด้วยกัน” ... Read more News กลุ่มอนุรักษ์นิยมชาวเมกาฯ โบกธงรุ้งร่วมยึดทำเนียบขาว ชวนรู้จัก ‘LGBT for Trump’ ... นภัสชล บุญธรรม - January 8, 2021 เป็นสถานการณ์ที่เป็นที่รู้กันว่าสหรัฐฯ นั้นมีการจลาจลของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ที่อาคารรัฐสภา เพื่อขัดข... Read more