‘กฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อมอันไม่เป็นธรรมของรัฐไทย กำลังทำให้คนในพื้นที่ชนพื้นเมืองและชุมชนติดผืนป่าต้องเผชิญกับการถูกฟ้องคดีอาญา ถูกไล่ที่ และถูกทำลายวิถีชีวิต’
ชวนรับฟังงานแถลงข่าว “ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า” ในวันพรุ่งนี้ 18 พฤศจิกายน 2565 โค้งสุดท้ายของการประชุม COP27 และ APEC2022 พร้อมเปิดตัว ‘ภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition Movement)’ (สามารถรับฟังออนไลน์ได้)
สาเหตุของการแถลงข่าวครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ในการประชุมรัฐภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) ที่ผ่านมา รัฐไทยได้แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) แต่กลับไม่เคยเคลื่อนไหวในด้านที่ควรทำ คือการปฏิรูปนโยบายเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ
ในทางตรงกันข้าม เพื่อจะไปสู่ Net-Zero รัฐได้สร้างกฎหมายควบคุมการอนุรักษ์และการปลูกป่าเพื่อกักเก็บคาร์บอนขึ้นมา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และส่งผลให้คนในพื้นที่ชุมชนที่ต้องพึ่งพาป่าไม้โดนฟ้องคดีอาญา ถูกไล่ที่ และถูกทำลายวิธีชีวิต อีกทั้งคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกับผืนป่าได้กลายเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ
“จะไม่มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมหากปราศจากการมีส่วนร่วมของเรา”
การแถลงปฏิญญานี้มุ่งเน้นที่จะแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันต่อการส่งเสียงสะท้อนต่อประเด็นปัญหา โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศอย่างเป็นธรรม ซึ่งต้องคำนึงถึงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และหลักสตรีนิยม โดยในการแถลงข่าวจะมีการเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและภาคธุรกิจด้านพลังงานเพื่อย้ำเตือนถึงแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องหยุดการดำเนินการที่ฟอกเขียว ที่ส่งผลเสียแต่คนกลุ่มน้อย รวมถึงประณามการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้
อีกทั้งในงานจะเป็นการเปิดตัว ‘ภาคีเพื่อการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition Movement)’ อย่างเป็นทางการ ซึ่งคือกลุ่มประชาชนรากหญ้าและภาคประชาสังคม ที่ประกอบด้วย มูลนิธิมานุษยะ, Thailand Climate Justice for All, และมูลนิธิภาคใต้สีเขียว , สมาชิกของ แนวร่วมองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย, เครือข่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย กลุ่มคนรากหญ้าที่เป็นตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมือง, ชุมชนที่พึ่งพาป่าไม้, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ, และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถรับฟังงานแถลงข่าวได้ทั้งทางออนไลน์
หรือ ณ โรงแรมอลิซาเบธ
วันที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 9:30 น. – 11:30 น.
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3Gl9OAn
#COP27 #APEC2022 #ClimateJustice #WeAreJustTransition
#SPECTRUM #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน